ข้อสังเกตบางประการ
เกี่ยวกับการปลูก "ต้นสัก" ในสวนสัตว์ดุสิต
ผมอ่านพบเรื่องราวนี้ครั้งแรกจากบันทึกของหม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล
พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
และใช้เวลานานพอสมควรกว่าจะพบเอกสารและหลักฐานที่ชัดเจน
เอกสารชิ้นแรกที่จะขอกล่าวถึงคือ ราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๖ มีนาคม ร.ศ.๑๒๘ (พ.ศ.๒๔๕๒, ค.ศ.๑๙๐๙)
เล่มที่ ๒๖ หน้า ๒๕๙๖ เรื่องที่ดุ๊กโยฮันอัลเบรกต์ ผู้สำเร็จราชการเมืองบรันซวิก และดัชเชสอิลิซาเบตพระชายาดุ๊กโยฮันฯ
ทรงเสด็จไปปลูกต้นสักที่ "เขากบ" องค์ละต้น แล้วทอดพระเนตรพายเรือโอ่ใน "สระอโนดาต"
ในวันที่ ๓๐ มกราคม และ ๕ กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน
วันนี้ผมเพิ่งมีโอกาสเห็นหลักฐานชัดๆ ว่า "เขากบ" อยู่ในพื้นที่ของสวนสัตว์ดุสิตปัจจุบันจริง ๆ ดังภาพที่แนบมาพร้อมกันนี้
ในขณะเดียวกันก็ยังพบแผนที่ปี พ.ศ. ๒๔๕๖ ที่แสดงให้เห็นว่ามี "สระอโนดาษ" เช่นเดียวกัน
นอกจากนั้นแล้วในราชกิจจานุเบกษาวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๔๕๙ (ร.ศ.๑๓๕, ค.ศ.๑๙๑๖)เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๑๑๕ ก็กล่าวถึงประตูถกลเกียรติอนันต์ ว่าออกจากพระที่นั่งอนันตสมาคมไป "สระอโนดาษ"
ซึ่งที่กล่าวมาข้างต้นล้วน "ขัดแย้ง" กับเอกสารเรื่องการ "ปลูกสัก" ที่มีอยู่เดิมว่าเจ้าชายวัลดิมา "ปลูกต้นสัก" แล้วทอดพระเนตรพายเรือโอ่ใน "อ่างหยก" จากราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๖ หน้า ๕๘๔ วันที่ ๗ มีนาคม ร.ศ.๑๑๘ (พ.ศ.๒๔๔๒, ค.ศ.๑๘๙๙)
ข้อมูลข้างต้นมีส่วนที่ "ต่างกัน" นิดเดียวครับที่ "อ่างหยก" อยู่บริเวณพระที่นั่งวิมานเมฆ
ส่วนสระอโนดาต, อโนดาษ อยู่ที่สวนสัตว์ดุสิต
ขอบคุณน้องเก้า นิสิตป.โท คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาพต้นฉบับ
ภาพที่ ๓ พิมพ์โดยกรมแผนที่ทหาร พ.ศ.๒๔๕๓ เรียบเรียงโดย ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาพที่ ๒ จาก https://www.facebook.com/77PPP/photos/a.123471934427651.24700.121587384616106/494871600621014/?type=3&theater
Congratulations @panzpo! You received a personal award!
You can view your badges on your Steem Board and compare to others on the Steem Ranking
Vote for @Steemitboard as a witness to get one more award and increased upvotes!