When you have to make some difficult decisions, what do you do? :: เมื่อคุณต้องตัดสินใจบ้างเรื่องที่ยาก คุณทำอย่างไร

in #thai7 years ago (edited)

เมื่อคุณต้องตัดสินใจบ้างเรื่องที่ยาก คุณทำอย่างไร ????

the-strategy-win-champion-the-championship-1.jpg
<ภาพจาก google.>

แน่นอนว่าตัวคุณเองรู้อยู่แล้วว่าการใช้เวลาเป็นชั่วโมงเพื่อตัดสินใจว่าจะเลือกแซนด์วิชชิ้นไหนเป็นอาหารกลางวันเป็นเรื่องไร้เหตุผล เช่นเดียวกับการใช้เวลานับสัปดาห์เพื่อตัดสินใจว่าจะรับข้อเสนองานชิ้นนี้ดีไหม? หรือใช้เวลาหนึ่งปีเพื่อคิดว่าจะแต่งงานกับแฟนคนนี้ดีรึเปล่า?

คุณอาจจะคิดว่า “พอได้แล้วน่า…ตัดสินใจซะทีเถอะ” แต่พอผ่านไปแค่ไม่กี่นาที ความลังเลและหวั่นวิตกก็เริ่มจู่โจมเข้ามาเรื่อยๆ แม้คุณจะพยายามสร้างภูมิคุ้มกันความรู้สึกเหล่านี้บ้างแล้วก็ตาม<

ทุกคนคงเคยผ่านสถานการณ์แบบนี้มาแล้ว และมีวิธีรับมือที่ต่างกันออกไป ซึ่งจากเว็บไซต์ Quora ที่มีคนไปตั้งคำถามว่า “ฉันควรแก้นิสัยคิดมากนี้ยังไงดี?” ซึ่งมีผู้คนมากมายที่มาแชร์วิธีของตัวเองและร่วมโหวตคำตอบที่สร้างสรรค์ที่สุด และทางเราก็ได้รวบรวมมาไว้ในเว็บ SUMREJ ให้แล้ว ต่อไปคุณจะได้รู้วิธีหยุดนิสัยนี้ได้อย่างถาวร!

  • 1.สังเกตความคิดของตัวเองการฝึกสมาธิแบบเจริญสติ (Mindfulness Meditation) เป็นสิ่งที่ช่วยให้คุณ หยุดหมกมุ่นกับเรื่องในอดีตได้ โดยให้คุณลองสังเกตการณ์ความคิดของตัวเอง แทนที่จะลงไปหมกมุ่นอยู่กับมัน
  • 2.เขียนความคิดของตัวเองอีกวิธีหนึ่ง ที่จะช่วยหยุดความคิดฟุ้งซ่านของคุณ ก็คือ การระบายให้กับคนที่มีมุมมองวิธีคิดแตกต่างไปจากคุณได้ฟัง หรือจะใช้วิธีเขียนระบายความคิดของตัวลงไปในกระดาษแทนก็ได้ เพราะการเขียนทำให้เราคิดอย่างเป็นระบบขึ้นมาก ถ้าคุณเก็บความคิดเหล่านั้นไว้แต่ในหัว นอกจากมันจะไปสุมกันจนเป็นภูเขาเลากา มันยังทำให้คุณวนกลับมาคิดเรื่องเดิมซ้ำอยู่อย่างนั้นไม่จบสิ้น
  • 3.กำหนดช่วงเวลาสำหรับ “การหยุดใช้ความคิด” การกำหนดโซน “หยุดใช้ความคิด” ช่วยห้ามไม่ให้คุณหมกมุ่นกับปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป เช่น การไม่คิดเกี่ยวกับเรื่องยากๆ หลังเวลาสองทุ่มเพื่อไม่ให้มันมารบกวนเวลานอนหลับ
  • 4.เบี่ยงเบนความคิดของตัวเองฟังดูง่ายๆ แต่ที่จริงการจดจ่อกับสองสิ่งไปพร้อมกันนี่มันยากนะ ลองออกกำลังกายหรือเล่นเกมดูเมื่อรู้ตัวว่าตนเองกำลังคิดมาก เพื่อสร้างสมดุลระหว่างอารมณ์และร่างกาย
  • 5.โฟกัสที่สิ่งที่ทำได้ในปัจจุบัน อีกหนึ่งวิธีแก้นิสัยคิดมากก็คือ เลิกคิดแล้วลงมือทำ อย่าไปโฟกัสในสิ่งที่คุณต้องทำ สิ่งที่ยังไม่ได้ทำ หรือแม้แต่สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว แต่ให้พุ่งความสนใจไปในที่สิ่งที่สามารถทำได้ในปัจจุบันก็พอ ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กแค่ไหนก็ตาม แล้วก็ลงมือทำมันซะ
  • 6.เคารพความคิดเห็นของตัวเอง เหตุที่คุณยังคงคิดมากจนไม่ยอมตัดสินใจ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะคุณไม่เชื่อว่าตัวเองจะตัดสินใจเลือกสิ่งที่ถูกต้อง จงเรียนรู้ที่จะเคารพความคิดเห็นของตัวเอง ยิ่งคิดมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งลังเลในความคิดของตัวเองมากเท่านั้น
  • 7.คุณสามารถเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้ เป็นเรื่องปกติที่จะกังวลว่าคุณเลือกงานผิด แต่งงานกับคนที่ไม่ใช่สำหรับตัวเอง หรือแม้แต่ขับรถกลับบ้านผิดทาง แต่ความผิดพลาดก็ไม่ได้นำไปสู่หายนะเสมอไป แถมยังเป็นโอกาสให้ได้เรียนรู้และเติบโตขึ้นด้วย

นักข่าวชื่อดัง Kathryn Schulz เคยขึ้นไปพูดบนเวที TED Talk เธอกล่าวว่า “การตระหนักได้ว่าตัวเองทำอะไรพลาดแล้วปรับมุมมองการมองโลกใหม่ได้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ๆ ”<

“การคิดมากมักเป็นเพราะคุณคิดว่ามันเป็นการตัดสินใจครั้งสุดท้ายของคุณ เปลี่ยนแปลงไม่ได้และต้องถูกต้องเท่านั้น ซึ่งจริงๆ แล้ว คุณไม่ต้องกังวลกับความผิดพลาดเลย และให้เข้าใจไว้ว่าความคิดเห็นหรือความรู้ของคุณนั้นมันเปลี่ยนแปลงได้เสมอตามกาลเวลา แล้วคุณจะรู้สึกสงบและเป็นอิสระจากภายในอย่างแท้จริง”<
Source : Business Insider, google, หนังสือปรัชญา
เรียบเรียง : naphapat.



Thank you for follow, Thank you so mush for voting and comments. Thank so mush ka.
Love.



ขอบคุณที่ติดตาม ขอบคุณที่โหวตและคอมเมนต์ค่ะ @naphapat168
Sort:  

อืม...เราก็เป็นคนคิดมากนะ แต่คิดมากในการหาเรื่องราวดีๆมาเขียนลงใน Steemit น่ะ ;-) โพสต์นี้เขียนได้ดีอีกแล้วอ่านแล้วก็คิดตาม เพลินเลยค่ะ :-)

เป็นเหมือนกันเลยค่ะ กว่าจะคิดหาบทความ หรือว่ารวบรวมข้อมูลมาเขียนได้ ก็คิดแล้วคิดอีกค่ะ เรียกว่าคิดเยอะอยู่เหมือนกันค่ะ

ขอบคุณมากๆค่ะ ขอบคุณ @mayasiam ที่ติดตามนะคะ

ขอบคุณสำหรับโพสร์ดีๆ ค่ะ

ขอยคุณเช่นกันค่ะ @rasada ที่ติดตามโพสต์ ขอบคุณค่ะ

ชอบบทความนี้ครับ ผมเคยเป็นแบบนี้เลยครับ ขอแชร์ประสบการณ์ด้วยครับ
ปัจจุบันนี้ก็ยังเป็นอยู่ แต่มีสติรู้ตัวว่าเป็น และพยายามที่จะเปลี่ยนโฟกัสไปที่เรื่องสำคัญและมีผลต่อชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งช่วยได้เมื่อไหรที่คิดวนๆซ้ำๆ จะตั้งคำถามว่าคิดแล้วชีวิตดีขึ้นใช่ไหม จากนั้นมันจะกลับหลังหันไปคิดอย่างอื่นแทนครับ


ที่แชร์ประสบการณ์มีประโยชน์มากเลยค่ะ ขอบคุณนะคะขอบคุณค่ะคุณ @pichat