“เรากินข้าวกล้องทุกวัน เราก็คนจน” ทรงขอให้ระลึกถึงชาวนาทุกครั้งที่กินข้าว ตอนที่ #8

in #steemit7 years ago

“เรากินข้าวกล้องทุกวัน เราก็คนจน” ทรงขอให้ระลึกถึงชาวนาทุกครั้งที่กินข้าว ตอนที่ #8
วันนี้ บทความตอนที่ # 8 ที่ผมนำเสนอและขอเผยแพ่ เกี่ยวกับ พ่อหลวง ร.9
ที่ผมนำมาเสนอนี้ ผมขอน้อมรำลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณ อันหาที่สุดมิได้ ที่พ่อหลวง
ทรงทำเพื่อประเทศไทย

ด้วยเหตุนี้ “รัฐบาล” ทุกยุคทุกสมัยมักมุ่งแก้ไขปัญหาเฉพาะราคาผ่านมาตรการรับจำนำ ประกันราคา แจกปัจจัยการผลิต ซึ่งไม่ช่วยแก้ปัญหาที่ต้นเหตุและยังไม่สร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรแบบยั่งยืน
การแก้ไขปัญหาในวันนี้จะคิดและทำแบบเดิมไม่ได้อีกต่อไปแล้ว รัฐบาลเล็งเห็นว่า การสร้างความยั่งยืนให้ข้าวไทยเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใช้เวลา ความรู้ ความร่วมมือจากหลายภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมทั้งองค์ประกอบด้านคุณภาพ คุณค่า และศักยภาพการแข่งขัน
รัฐบาลจึงวางแผน “พัฒนาข้าวอย่างยั่งยืน” ซึ่งต้องพัฒนาหลายมิติไปพร้อมกันทั้งระบบ โดยวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทั้งตลาดข้าวคุณภาพสูง เช่น ข้าวสี ข้าวหอมมะลิ ข้าวสุขภาพ เป็นต้น และตลาดข้าวทั่ว ๆ ไป ซึ่งมีคู่แข่งมาก จึงต้องพัฒนานำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการผลิต บนพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น ในภาคกลาง พร้อมทั้งวางระบบมาตรฐานการปฏิบัติที่ดีทางการเกษตร (Good Agricultural Practices-GAP) ลดการใช้สารเคมีในนา เพื่อให้ได้ข้าวที่ปลอดภัย ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่รักสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

สิ่งที่กระทรวงเกษตรฯทำอยู่ขณะนี้ คือ การมุ่งสร้างความเข้มแข็ง
จากภายในให้ภาคเกษตรจากการส่งเสริมให้รวมกลุ่มผลิตและบริหารจัดการในรูปแบบ “นาแปลงใหญ่” เพื่อเปลี่ยนกระบวนทัศน์ห่วงโซ่การผลิตข้าวแบบเดิม โดยการผสานเชื่อมโยงกันตั้งแต่เริ่มการจัดการการเพาะปลูกข้าวไปจนถึงการตลาด มีเป้าหมายอีก 4 ปี หรือในปี 2564 จะเพิ่มพื้นที่นาแปลงใหญ่จาก 1.7 ล้านไร่ในปัจจุบัน เป็น 19.3 ล้านไร่จากพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด 58.7 ล้านไร่
อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญนี้ต้องอาศัย “ความสมัครใจของชาวนา” เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาแบบครบวงจร เมื่อเกษตรกรสมัครใจรวมกลุ่มนาแปลงใหญ่แล้ว ขั้นต่อไปจะต้องช่วยกันวางแผนว่ากลุ่มจะปลูกข้าวพันธุ์อะไร ปริมาณเท่าใด เตรียมเมล็ดพันธุ์ ดินและปุ๋ยอย่างไร ต้องใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีอะไร และแบ่งหน้าที่ในการผลิตตามความถนัด

ในการตัดสินใจของกลุ่มจะต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาด, การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า, การปลูกพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่เพาะปลูกและต้องรู้จักสร้างกลไกบริหารจัดการ หรือปรับเปลี่ยนวิธีการเพาะปลูก หรือเปลี่ยนไปทำการเกษตรอื่น ๆ ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าการปลูกข้าวเพียงอย่างเดียว

จบบทความตอนที่ # 8

พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียน
พระมหากรุณาธิคุณ

ติดตามวันราชาภิเษกตอนที่ # 9 ในวันพรุ่งนี้ครับ

ขอบคุณมาก
@ongong ตามลิงค์ด้านล่าง
https://steemit.com/@nongboy
https://busy.org/@nongboy
https://steemkr.com/@nongboy

Sort:  

ดีมากค่ะ

ขอบคุณมากครับที่ติดตาม