จากการรีวิวแอป Instaread ไปเมื่อโพสท์ที่แล้ว ฉันจึงกลับมาย้อนคิดว่า อะไรกันที่ดลใจให้ผู้สร้างแอปคิดวิธีการอ่านหนังสือแบบใหม่นี้ขึ้นมา ทำไมเขาจึงกล้านำเสนอวิธีการอ่านที่ไม่เป็นไปตามแบบปฏิบัติที่ยึดถือกันมาแต่นมนาน และคิดว่ามันจะได้รับการยอมรับจากผู้คนทั่วไปได้?
ยิ่งไปกว่านั้น ตั้งแต่เปิดตัวแอปมา Instaread ไม่ได้เป็นเพียงอีกหนึ่งตัวเลือกในตลาดแอป ที่สามารถใช้งานได้ และมีผู้ใช้จำนวนหนึ่ง แต่กลายเป็นแอปที่ได้รับความนิยม มีคนเข้ามาอ่านหนังสือบนแอปทะลุหลักล้าน จนเป็นที่จับตามองในแวดวงสตาร์ทอัป
Rahul Chitrapu คือผู้ร่วมก่อตั้งแอป และ CEO ของ Instaread เขาได้บอกเล่าเกี่ยวกับแอปผ่านบทสัมภาษณ์ของ Forbes ซึ่งฉันจะหยิบยกเอาส่วนที่น่าสนใจมาโน้ตไว้ตรงนี้
จากการคลุกคลีในแวดวงเทคสตาร์ทอัปมายาวนาน ทั้งโปรดักท์อุตสาหกรรมเคมี เชื้อเพลิง บริษัทยายักษ์ใหญ่ ไปจนถึงโรงงานนิวเคลียร์ มาจนถึงแอปอ่านหนังสือที่ไม่ธรรมดานี้ จุดขายหลักของ Instaread คือ มันทำให้คนที่ไม่ค่อยมีเวลาว่าง สามารถจับใจความหลักของหนังสือขายดีประเภท non-fiction ได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที โดยคอนเทนท์ในแอปจะกลั่นกรองเอาเฉพาะ key message มานำเสนอด้วยสำนวนที่ย่อยง่าย รวมไปถึงรูปแบบการฟัง
พันธกิจ (ภาษาองค์กร 555+) คือการปลดปล่อยความรู้ที่อัดแน่นอยู่ในหนังสือ ด้วยการทำให้มันเข้าถึงได้ง่าย
ในความคิดของ Rahul ผู้เป็นหนอนหนังสือตัวยงคนหนึ่ง (เช่นเดียวกับเพื่อนผู้ร่วมก่อตั้งแอปอีกคน) เขามองว่า 'หนังสือ' สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตคนคนหนึ่งได้ หนังสือหลายเล่มสามารถเปลี่ยนวิธีการมองโลกของคนอ่านไปได้เลย ซึ่งนั่นมาจากประสบการณ์ของตัวเขาเอง แต่กระนั้นก็ยังมีหนังสือดีอีกมากมายในโลกนี้ที่เขาไม่มีเวลาจะอ่าน
จุดนี้คือ pain point ที่ฉัน และเพื่อนๆ อีกหลายคนน่าจะประสบเช่นเดียวกัน ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาที่ Rahul และเพื่อนนำเสนอมันออกมาเป็น Instaread ที่ย่อยความรู้จากหนังสือจนได้ขนาดพอดีคำ ทุกคนสามารถเข้าถึงใจความสำคัญจากหนังสือเหล่านี้ได้ภายใน 15 นาที ไปจนถึงการเรียบเรียง key message พร้อมอ้างอิงเลข chapter ที่กล่าวถึง key message นั้น หากผู้อ่านสนใจก็สามารถ jump ไปอ่านต่อหรือฟังต่อเฉพาะ chapter นั้นในเล่มเต็มได้ ก็น่าถือว่าจะมา 'ถูกทาง' เมื่อดูจากผลตอบรับของผลิตภัณฑ์
จากการหยิบยกปัญหาที่ไม่ค่อยมีใครแก้ ไปจนถึง solution อันไม่เหมือนใคร คือสิ่งที่ทำให้แอป Instaread เหนือกว่าคู่แข่งแบบเทียบกันไม่ได้ solution อันเป็นเอกลักษณ์นี้ก็เกิดจากความชื่นชอบและความรู้ในเรื่องหนังสืออย่างแท้จริงของพวกเขา เส้นทางความสำเร็จของแอปเริ่มต้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตั้งแต่วันที่แอปขึ้นไปอยู่บนสโตร์ และมีการบอกต่อปากต่อปาก แต่จุดเปลี่ยนที่ชัดเจนของกราฟมาถึงเมื่อพวกเขาเริ่มทำโฆษณาบนเฟซบุ๊ค
พอจะได้ที่มาที่ไปของโปรดักท์แล้ว Rahul ก็มีข้อคิดมาฝาก จากประสบการณ์ที่ผ่านแวดวงเทคสตาร์ทอัปมาเกือบทุกรูปแบบจนมาจับทางได้กับผลงานชิ้นโบว์แดงของเขา
- ทำในสิ่งที่คุณหลงใหลเหอะ
- อะไรๆ จะง่ายกว่ามาก ถ้าทำโปรดักท์ที่คุณเป็น user ของมันจริงๆ
- ต่อให้โปรดักท์ดีงามเพียงใด ถ้าไม่มีแผนการตลาดที่แข็งแกร่งพอก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ
- จะทำธุรกิจขนาดใหญ่หรือเล็กก็ใช้ effort เท่ากัน (เพราะฉะนั้น...)
- ทำอะไรที่ผู้คนต้องการ
- ลงมือทำเล้ย!
แนวคิด(ที่ฟังดู)เรียบง่ายของ Rahul ให้พลังกับฉันมาจำนวนหนึ่ง ว่าแล้วก็ไปกินข้าวเที่ยงเติมพลังอีกสักหน่อย แล้วเจอกันโพสท์หน้าค่ะ //กราบเพื่อนๆผู้อ่าน
สวัสดีค่ะ คุณ@neonsalt ยินดีต้อนรับนะคะ....คุณคงยังไม่รู้ เรื่องกฎ ของชุมชนเรา คือพวกเรา จะไม่โหวตให้โพสต์ของตัวเอง จนกว่าชุมชนเรา จะช่วยเหลือตัวเองได้ เราเก็บพาวเวอร์อัปโหวต เพื่อโหวตให้เพื่อนๆ มันเป็นการช่วย ชุมชนเรา ให้แข็งแรงขึ้น ช่วยกรุณาถอนโหวตออกก่อน จะได้ไหม?...ขอขอบคุณล่วงหน้านะคะ
ได้ไปศึกษาเพิ่มเติมมาแล้ว ขอบคุณทีแนะนำนะคะ
ขอบคุณค่ะ
สวัสดีค่ะ @neonsalt ยินดีต้อนรับนะคะ ชื่อตุ๊กติ๊กนะคะ หวังว่าจะได้เป็นเพื่อนกับคุณ @neonsalt ในทุกๆโพสนะคะ ตุ๊กติ๊กรออ่านและเป็นกำลังใจให้นะคะ